messager
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลบ้านเอื้อง
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1. ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีสงคราม ระยะทางห่างจากอำเภอศรีสงครามประมาณ 9 กิโลเมตร ระยะทางห่างจากจังหวัดนครพนมประมาณ 80 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 712 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 40,625 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 199 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านเอื้อง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 48150 หมายเลขโทรศัพท์ 0 4253 0703 โทรสาร 0 4253 0688 ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2539 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือจด ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ทิศใต้จด ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ทิศตะวันออกจด ตำบลนาเดื่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ทิศตะวันตกจด ตำบลโพนสว่าง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม - จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง มีทั้งหมดจำนวน 16 หมู่บ้าน ดังนี้ 1. บ้านเอื้อง หมู่ที่ 1 2. บ้านก่อ หมู่ที่ 2 3. บ้านนาดี หมู่ที่ 3 4. บ้านหนองผือ หมู่ที่ 4 5. บ้านดอนถ่อน หมู่ที่ 5 6. บ้านดงขวาง หมู่ที่ 6 7. บ้านเซียงเซา หมู่ที่ 7 8. บ้านนาจาน หมู่ที่ 8 9. บ้านนาจาน หมู่ที่ 9 10. บ้านเซียงเซา หมู่ที่ 10 11. บ้านหนองผือ หมู่ที่ 11 12. บ้านดอนถ่อน หมู่ที่ 12 13. บ้านก่อ หมู่ที่ 13 14. บ้านนาจาน หมู่ที่ 14 15. บ้านเซียงเซา หมู่ที่ 15 16. บ้านหนองผือ หมู่ที่ 16 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับเนินสูงเป็นบางส่วน โดยอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150 – 200 เมตร โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และเป็นป่าโปร่ง สภาพพื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าปีใดมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดน้ำท่วม และจะเกิดน้ำขังในพื้นที่ หมู่ที่ 5 , 8 , 9 , 12 , 14 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 30 - 35 องศาเซลเซียล สูงสุดวัดไปประมาณ 40 องศาเซลเซียล อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 8 - 10 องศาเซลเซียล 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 75% ดินลูกรังประมาณ 18 % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10% 2. ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสงคราม ระยะทางห่างจากอำเภอศรีสงครามประมาณ 9 กิโลเมตร ระยะทางห่างจากจังหวัดนครพนมประมาณ 80 กิโลเมตร 2.2 การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง เป็น 1 เขตเลือกตั้ง และแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ออกเป็น 16 เขต 3. ประชากร 3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ตำบล/หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน ประชากรชาย(คน) ประชากรหญิง(คน) หมู่ที่ 1 บ้านเอื้อง 271 512 561 หมู่ที่ 2 บ้านก่อ 145 257 264 หมู่ที่ 3 บ้านนาดี 236 465 462 หมู่ที่ 4 บ้านหนองผือ 153 294 290 หมู่ที่ 5 บ้านดอนถ่อน 135 276 287 หมู่ที่ 6 บ้านดงขวาง 239 464 447 หมู่ที่ 7 บ้านเซียงเซา 132 245 228 หมู่ที่ 8 บ้านนาจาน 166 295 310 หมู่ที่ 9 บ้านนาจาน 248 466 447 หมู่ที่ 10 บ้านเซียงเซา 177 354 343 หมู่ที่ 11 บ้านหนองผือ 228 399 427 หมู่ที่ 12 บ้านดอนถ่อน 163 291 281 หมู่ที่ 13 บ้านก่อ 185 389 390 หมู่ที่ 14 บ้านนาจาน 176 332 323 หมู่ที่ 15 บ้านเซียงเซา 174 307 318 หมู่ที่ 16 บ้านหนองผือ 163 318 314 รวม 2,991 5,664 5,692 รวมทั้งสิ้น 11,356 3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร ประชากร ประชากรชาย(คน) ประชากรหญิง(คน) ช่วงอายุ ประชากรเยาวชน 1,332 1,322 อายุต่ำกว่า 18 ปี ประชากร 3,682 3,487 อายุ 18-59 ปี ประชากรผู้สูงอายุ 645 881 อายุ 60 ปี ขึ้นไป รวม 5,659 5,690 รวมทั้งสิ้น 11,349 4. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง มีการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการค่อนข้างทั่วถึง โดยมีโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ 1. โรงเรียนดอนถ่อนโคกกลางวิทยา 2. โรงเรียนบ้านหนองผือ 3. โรงเรียนบ้านเซียงเซา 4. โรงเรียนบ้านดงขวาง 5. โรงเรียนบ้านนาจาน โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนชุมชนเอื้องก่อนาดี โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 8 ศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองผือ 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านก่อ 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเซียงเซา 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีบุญเรือง 5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดทรายศรี 6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีโนนสูง 7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจอมแจ้ง 8. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัย 4.2 สาธารณสุข คนในพื้นที่ตำบลบ้านเอื้องส่วนใหญ่ใช้บริการทางด้านสาธารณสุขของรัฐ ได้แก่ โรงพยาบาล ศรีสงคราม นอกจากนี้หากมีการเจ็บป่วยหนักประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปยังโรงพยาบาลในตัวเมืองจังหวัดนครพนม ในส่วนทางด้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพบว่ามีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผือ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเซียงเซา 4.3 อาชญากรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้องไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน และทำลายทรัพย์สินของราชการ แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจากตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรงbnznnn 4.4 ยาเสพติด ปัญหายาเสพติดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง พบมีผู้ที่เสพยาเสพติดส่วนมากจะเป็นเยาวชน ที่อยากรู้อยากทดลองเสพตามพฤติกรรมของวัยรุ่น ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้องได้ขอความร่วมมือกับทางผู้นำชุมชน ประชาชน ช่วยกันสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ป้องกัน การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 4.5 การสังคมสงเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้องได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้ 1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ 2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ 4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง 5. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมต่อเติมบ้านผู้ยากไร้ 5. ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบการให้บริการรถโดยสารประจำทางในเขตตำบลบ้านเอื้อง ซึ่งมีการให้บริการรถโดยสารรถประจำทางออกเป็น 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 เป็นการเดินรถโดยสารประจำทางภายในเขตตำบล ปัจจุบันในเขตตำบลบ้านเอื้อง ยังไม่มีการบริการเดินรถในหมวดนี้ หมวดที่ 2 เป็นการเดินรถโดยสารประจำทางกรุงเทพมหานครกับจังหวัดอื่น ปัจจุบันในเขตตำบล บ้านเอื้อง มีบริการเดินรถในหมวดนี้ 1 สาย คือ สายกรุงเทพมหานคร – ศรีสงคราม – บ้านแพง (ผ่านพื้นที่ตำบลบ้านเอื้อง) หมวดที่ 3 เป็นการเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด ปัจจุบันในเขตตำบลบ้านเอื้อง มีบริการการเดินรถในหมวดนี้ 1 สาย คือ สายบ้านแพง – ศรีสงคราม – สกลนคร (ผ่านพื้นที่ตำบลบ้านเอื้อง) หมวดที่ 4 เป็นการเดินรถโดยสารประจำทางภายในจังหวัดนครพนม ปัจจุบันในเขตตำบลบ้านเอื้อง มีบริการการเดินรถในหมวดนี้ 1 สาย คือ สายนาหว้า - ศรีสงคราม - นครพนม (ผ่านพื้นที่ตำบลบ้านเอื้อง) 5.2 การไฟฟ้า - จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 16 หมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 2,991 ครัวเรือน 5.3 การประปา ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง มีน้ำประปาใช้ในครัวเรือนประมาณ 60% ของครัวเรือนทั้งหมด น้ำประปาในหมู่บ้านที่ใช้เพื่อการอุปโภคในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน 5.4 โทรศัพท์ - ประชาชนในพื้นที่ส่วนมากจะใช้โทรศัพท์มือถือส่วนบุคคล ประมาณ 70% ของประชาชนทั้งหมด 5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้องไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งหน่วยงานราชการและประชาชนจะไปใช้บริการไปรษณีย์ที่อำเภอศรีสงครามหรืออำเภอใกล้เคียงพื้นที่ 6. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ประชากรในเขตตำบลบ้านเอื้อง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ปลูกยางพารา ปลูกไม้ยูคาลิปตัส เลี้ยงปลาและประมง เป็นต้น โดยมีอาชีพเสริมได้แก่ รับจ้างทั่วไป การทอผ้า จักรสาน ผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝก เป็นต้น อาชีพอื่นๆ เช่น รับราชการ ค้าขาย ซ่อมรถจักรยานยนต์ ร้านเสริมสวย เป็นต้น ผลผลิตหรือสินค้า / บริการที่สำคัญของตำบล ข้าว ยางพารา ซึ่งสามารถส่งออกเป็นรายได้หลักของตำบล โดยมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อในหมู่บ้านและบางส่วนนำไปขายยังตลาดในอำเภอศรีสงคราม 6.2 การประมง ประชากรในเขตตำบลบ้านเอื้องทำการประมงจับปลาตามแหล่งน้ำทางธรรมชาติ เช่น ลำน้ำอูน หนองน้ำ บึง คลอง ลำห้วย เป็นต้น เพื่อนำปลามาบริโภคในครัวเรือนและถ้าจับปลาได้ปริมาณมากก็นำไปจำหน่ายสร้างรายได้ 6.3 การปศุสัตว์ ประชากรในเขตตำบลบ้านเอื้องเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนเพื่อบริโภคและเป็นอาชีพเสริมจำหน่ายสร้างรายได้ เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ เป็นต้น - มีฟาร์มไก่ จำนวน 3 ฟาร์ม 6.4 การบริการ  สหกรณ์การยาง 1 แห่ง  รีสอร์ท 1 แห่ง  ปั๊มน้ำมันมือหมุน 18 แห่ง  ปั๊มน้ำมันไฟฟ้า 6 แห่ง  โรงสี 57 โรง  ร้านอาหาร 30 ร้าน  ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ 15 ร้าน  ร้านซ่อมรถยนต์ 2 ร้าน  ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 5 ร้าน  ร้านขายของชำ 50 ร้าน  ร้านบริการล้างรถ (คาร์แคร์) 1 ร้าน 6.5 การท่องเที่ยว ในพื้นที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ หนองคำอ้อ หนองสวนแตง หนองสุริโย ลำน้ำอูน บ่อหลวง บ่อมน เป็นต้น 6.6 อุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้องไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม 6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเอื้อง ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ ได้แก่ กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ กลุ่มผ้าคราม กลุ่มจักรสาน กลุ่มผลิตปุ๋ยหมักอัดเม็ดชีวภาพ กลุ่มเลี้ยงโคกระบือ เป็นต้น 6.8 แรงงาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ 18 – 59 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ 80 แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานมาก ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ 7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 7.1 การนับถือศาสนา ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 มีวัด 10 แห่งและร้อยละ 1 นับถือศาสนาคริสต์ 7.2 ประเพณีและงานประจำปี - ประเพณีบุญเดือนสาม - ประเพณีบุญผะเหวด - ประเพณีแห่น้ำสรงพระในวันสงกรานต์ - ประเพณีเลี้ยงปู่ตา เดือน 6 ก่อนจะลงทำนา - ประเพณีตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา - ประเพณีแข่งเรือออกพรรษา - ประเพณีวันลอยกระทง 7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้องได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำเครื่องจักสาร ทอเสื่อจากต้นกก ทอผ้ามัดหมี่ การทำหญ้าแฝกมุงหลังคา การทำเกลือสินเธาว์ การทำปลาร้าการทำปลาส้ม เป็นต้น ภาษาถิ่น พูดภาษาญ้อ 80% พูดภาษาลาว 20% 7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้องได้ผลิตของใช้พื้นเมือง ได้แก่ การทอผ้ามัดหมี่ การย้อมผ้าคราม สำหรับใช้ในครัวเรือนและนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ เป็นสินค้า OTOP ตามงานเทศกาลต่างๆ เช่น งานกาชาดจังหวัดนครพนม งานเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม งานแสดงสินค้าและนิทรรศการต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องจักสารด้วยไม้ไผ่ ทอเสื่อจากต้นกก 8. ทรัพยากรธรรมชาติ 8.1 น้ำ น้ำที่ใช่ในการบริโภค นำมาจากน้ำฝน น้ำบ่อ และซื้อน้ำจากผู้ผลิตน้ำขาย น้ำเพื่อการอุปโภคได้จากน้ำใต้ดินน้ำฝน น้ำบ่อ น้ำประปา ประชาชนในพื้นที่ในฤดูแล้งยังขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคและน้ำสำหรับทำการเกษตรอีกเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติ ได้แก่ ลำน้ำอูน หนองน้ำ ห้วย 8.2 ป่าไม้ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเอื้องมีป่าไม้ตามธรรมชาติ ป่าบุ่ง ป่าทาม 8.3 ภูเขา ในเขตตำบลบ้านเอื้องไม่มีภูเขา 8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเอื้องมีทรัพยากรดิน เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำนาปี นาปรังและเพาะปลูกทำการเกษตร หลังจากฤดูทำนาเสร็จประชาชนได้ทำการเกษตร เช่น ปลูกถั่วลิสง ปลูกข้าวโพด ปลูกแตงกวา ผัก เป็นต้น ทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพดี มีทรัพยากรน้ำและป่าไม้ทางธรรมชาติ ได้แก่ ลำน้ำอูน หนองน้ำ ห้วย เป็นแหล่งอาศัยของกุ้ง หอย ปู ปลา มีป่าบุ่ง ป่าทาม มีเห็ดเกิดตามป่าธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน 9. อื่นๆ 9.1 ประวัติความเป็นมาตำบลบ้านเอื้อง ตำบลบ้านเอื้อง เป็นตำบลเก่าแก่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากเมืองหลวงปู่ลิงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาอาศัยอยู่ในเขต อำเภอท่าอุเทน สมัยรัชกาลที่ 3 และจังหวัดนครราชสีมาเป็นบางส่วน ได้มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเอื้องเก่า (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง อบต.บ้านเอื้อง) ต่อมา พ.ศ.2430 ราษฎรในบ้านเอื้องเกิดโรคระบาดราษฎรเสียชีวิตจำนวนมาก จึงได้อพยพไปตั้งบ้านใหม่ทางทิศตะวันตกของ บ้านเองน้อย (ปัจจุบันบ้านเอื้อง หมู่ที่ 1) และย้ายไปอยู่บ้านนาฮ้าง (ปัจจุบันบ้านนาดี หมู่ที่ 3) และจัดตั้งหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน จำนวน 16 หมู่บ้าน ภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นส่วนใหญ่มี 2 ภาษา คือ ภาษาญ้อ ภาษาอีสาน ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 และร้อยละ 1 นับถือศาสนาคริสต์ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนคพนม 9.2 คำขวัญตำบลบ้านเอื้อง ศิลปาชีพล้ำค่า งามตาหินขาว เกลือสินเธาว์ชั้นดี ผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกมากมี ถิ่นนี้คือบ้านเอื้อง 9.3 วิสัยทัศน์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง “ตำบลน่าอยู่ คู่คุณธรรม สรรค์สร้างชุมชนสู่ความเจริญ ” 9.4 พันธกิจการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง น้ำไหล ไฟสว่าง หนทางดี สุขภาพเยี่ยม เปี่ยมด้วยการศึกษา รักษาสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมบริการ 9.5 นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง 1. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมและพัฒนาการเมือง การปกครองท้องถิ่น ให้มีความก้าวหน้าและเข้มแข็ง 2. พร้อมจะพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ตามหลักธรรมาภิบาล ด้วยความสุจริต ยุติธรรม โปร่งใส โดยเปิดโอกาสให้ผู้นำชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบได้ 3. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาความรู้ ในทุกระดับตั้งแต่เด็กเล็ก อนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษา ให้มีการพัฒนาการศึกษาที่มีมาตรฐาน และส่งเสริมการศึกษาในชุมชน ให้นักเรียนได้มีโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกับนักเรียนในเมือง เพื่อพัฒนาเยาวชนในชุมชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 4. ส่งเสริมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ให้แต่ละกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อให้ชาวบ้านมีงานทำและมีรายได้ จะส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้ดีขึ้น เช่น 5.1 การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ จะจัดให้เจ้าหน้าที่ออกมาอำนวยความสะดวก ในการจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพ ให้ทุกหมู่บ้านและทุกเดือนตามความเหมาะสม 5.2 สนับสนุนกิจกรรมกลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน 5.3 จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ให้มีกิจกรรมร่วมกัน 5.4 จัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 5.5 จัดค่ายนักเรียนและเยาวชน ปลูกฝัง คุณธรรมเพื่อต่อต้านยาเสพติดในช่วงปิดภาคเรียน 5.6 จัดหาหรือสร้างสวนสาธารณะ เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ 6. ส่งเสริมด้านสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ลดภาวะความเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 7. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ปลูกฝังและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และปฏิบัติสืบทอดกันต่อไป 8. ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างลานกีฬา ปรับปรุงซ่อมแซมลานกีฬาและกิจกรรมแข่งขันกีฬา พร้อมพัฒนานักกีฬาเป็นนักกีฬาอาชีพและสู่ความเป็นเลิศ 9. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้มีมาตรฐานและเพียงพอ 10. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการจัดเก็บขยะมูลฝอยอย่างเป็นระเบียบ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 11. พัฒนางานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหน่วยกู้ชีพและตำรวจชุมชน จัดหาเครื่องมือพร้อมอุปกรณ์ให้เพียงพอเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อลดปัญหายาเสพติดในชุมชน 12. ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ให้ดูสวยงามน่าอยู่และเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของคนตำบลบ้านเอื้องต่อไป